อยากได้ภาพช็อตเด็ด ธรรมชาติต้องจ่ายเท่าไหร่ │Wander More

เที่ยวคนเดียว, บล็อกเกอร์ท่องเที่ยว, บล็อกเกอร์สาว, ท่องเที่ยว, ผจญภัย, ลุยเดี่ยว, บล็อกเกอร์สายเที่ยว, เทรคกิ้ง, ปีนเขา, ดำน้ำ, ฟรีไดฟ์,ดำน้ำ, เที่ยว, อนุรักษ์, ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์, ดูกอง, อียิปต์, ฟิลิปปินส์

ไกลออกไป ณ อีกซีกหนึ่งของโลก ดินแดนที่เรียกว่า Marsa Alam ในประเทศอารยธรรมเก่าแก่อียิปต์ มีสัตว์ที่เป็นผู้ให้กำเนิดตำนานนางเงือกอาศัยอยู่

นางเงือกเหล่านี้ คือเจ้าดูกอง (Dugong) ญาติของพะยูน (Manatee) ซึ่งกำลังใกล้สูญพันธุ์

ด้วยครีบหางที่ต่างจากพะยูนที่มีหางกลม เจ้าดูกองมีหางทรงเดียวกับปลาโลมา ขนาดลำตัวใกล้เคียงกับมนุษย์ และมักอาศัยกินหญ้าทะเลอยู่ในเขตน้ำตื้นไม่เกิน 10 เมตร มีนิสัยขี้อาย ไม่เข้าหามนุษย์ และเป็นอีกหนึ่งในสัตว์ทะเลที่เป็นมังสวิรัติอย่างจริงจัง นอกจากในอียิปต์แล้ว ดูกอง หรือวัวทะเล (sea cow) อาจพบเห็นได้ใน Coron ฟิลิปปินส์อีกด้วย

ในกาลก่อน หากมีนักสำรวจเห็นเจ้าดูกองแต่ไกล อาจเข้าใจผิดได้ว่านี่คือเงือก

เลยเชื่อกันว่า เจ้าดูกอง คือที่มาของตำนานปรัมปราเกี่ยวกับนางเงือกนั่นเอง

เที่ยวคนเดียว, บล็อกเกอร์ท่องเที่ยว, บล็อกเกอร์สาว, ท่องเที่ยว, ผจญภัย, ลุยเดี่ยว, บล็อกเกอร์สายเที่ยว, เทรคกิ้ง, ปีนเขา, ดำน้ำ, ฟรีไดฟ์
หางของเจ้าดูกอง เมื่อมองจากบนผิวน้ำ / ภาพจาก Krafttrip

หลายปีที่ผ่านมา ที่อียิปต์ กิจกรรมท่องเที่ยวเพื่อชมเจ้าดูกอง มีนักดำน้ำแบบฟรีไดฟเวอร์บางคนเล่าว่ากำลังอยู่ในขั้นวิกฤติ เพราะที่นั่นไม่ได้มีมาตรการในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์!

โดยจะมีเครื่อง Zodiac คล้าย ๆ water booster วิ่งในทะเลเพื่อค้นหาเจ้าดูกอง (เสียงมันดังด้วยนะเครื่องนี้อ่ะ) เรือแต่ละลำต่างแย่งชิงว่าใครจะหาดูกองได้ก่อน เพื่อให้บริการแก่แขกนักท่องเที่ยวของตนเองให้กลับไปอย่างไม่ผิดหวัง ส่วนนักท่องเที่ยวที่ไปดำน้ำดูเจ้าดูกองนั้น แน่นอนว่า ต่างก็แย่งชิงกันเพื่อให้เข้าถึงตัวสัตว์ทะเลหาดูยากเหล่านี้ให้ได้มากที่สุด

แสวงหามุมถ่ายภาพเด็ด ๆ หรือมุมเซลฟี่กับเจ้าดูกอง ไปอวดโลกโซเชียล

ภาพที่ออกมาจึงเป็นแบบนี้:

เที่ยวคนเดียว, บล็อกเกอร์ท่องเที่ยว, บล็อกเกอร์สาว, ท่องเที่ยว, ผจญภัย, ลุยเดี่ยว, บล็อกเกอร์สายเที่ยว, เทรคกิ้ง, ปีนเขา, ดำน้ำ, ฟรีไดฟ์,ดำน้ำ, เที่ยว, อนุรักษ์, ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์, ดูกอง, อียิปต์, ฟิลิปปินส์
ภาพจาก Seadrops photography ที่ได้มีการบอกเล่าสถานการณ์การดำน้ำดูเจ้าดูกองที่อียิปต์ ในเหตุการณ์จริงที่เขาไปพบเจอมา

ทำให้เคทนึกถึงหลาย ๆ เหตุการณ์ เช่น  การไปดำน้ำดูฉลามวาฬที่ฟิลิปปินส์ ที่ทางการมีมาตรการจริงจังเพื่อลงโทษนักท่องเที่ยวที่ฝ่าฝืนกฏ เช่น นักท่องเที่ยวที่ว่ายเข้าไปใกล้ๆ จนดูเหมือนกำลังไล่ หรือเอามือไปแตะฉลามวาฬ ฯลฯ แม้จะมีเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลอยู่ และคอยตะโกนบอกว่า “Stay Away!!” แปลกที่เรายังคงพบเห็นนักท่องเที่ยวประเภทนี้อยู่ดี

มันเหมือนเป็นนาทีวัดใจกันเลยว่า ในช่วงเวลาที่เราดั้นด้นไปยังสถานที่นั้น ๆ เพื่อให้เจอสัตว์เหล่านี้ เราเลือกที่จะปฏิบัติต่อมันอย่างไร ?

เราเลือกความสุขของเราเอง ที่ได้ใกล้ชิดกับเขา โดยไม่สนใจว่าจะส่งผลอะไรกับเขาหรือไม่ เท่ากับเรากลายเป็น The Hunter  หรือถ้าเราเลือกที่จะเป็นผู้สังเกตการณ์ รักษาระยะห่างกับพวกเขา เพื่อไม่ให้เขาตกใจหรือรู้สึกว่ากำลัง ‘ถูกคุกคาม’ แสดงว่าเราเป็น The Observer

เต่าทะเล, นักท่องเที่ยว, เที่ยวคนเดียว, บล็อกเกอร์ท่องเที่ยว, บล็อกเกอร์สาว, ท่องเที่ยว, ผจญภัย, ลุยเดี่ยว, บล็อกเกอร์สายเที่ยว, เทรคกิ้ง, ปีนเขา, ดำน้ำ, ฟรีไดฟ์
นักท่องเที่ยว ขี่เต่าทะเล /ภาพจาก Flickr
Freediver, กระเบนราหู, แมนต้า, เที่ยวคนเดียว, บล็อกเกอร์ท่องเที่ยว, บล็อกเกอร์สาว, ท่องเที่ยว, ผจญภัย, ลุยเดี่ยว, บล็อกเกอร์สายเที่ยว, เทรคกิ้ง, ปีนเขา, ดำน้ำ, ฟรีไดฟ์
Freediver ขี่กระเบนราหูยักษ์ หรือแมนต้า/ ภาพจาก getty image

หากใครเคยไปส่องนกในป่า จะทราบว่า เวลาเข้าไปในเส้นทางส่องนกนั้น เจ้าหน้าที่จะกำชับให้เราไม่ใช้เสียงใด ๆ เลย เพราะเสียงที่มาจากมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเสียงพูดคุย เสียงมือถือ จะไปรบกวนสัตว์ป่า หนักเข้าคือสัตว์ทยอยหนีไปจากพื้นที่นั้นไปเลย เพราะเขากลัวมนุษย์ (แม้แต่พวกสัตว์ป่า เช่นพี่หมีนี่เขาก็ไม่อยู่นะ ตอนไปเดินขึ้นดอยอินทนนท์ เจ้าหน้าที่บอกว่าตรงเส้นทางธรรมชาติจุดนั้นเคยมีหมี แต่เขาย้ายหนีไปหมดแล้ว คงเพราะกลัวมนุษย์)

แต่กิจกรรมบนบก อาจควบคุมได้ง่ายกว่าใต้น้ำ เพราะประการแรกคือ สัตว์ที่อยู่ใต้น้ำ โอกาสพบเจอมันจะยากกว่า และต้องอาศัยทักษะบางอย่างเพื่อให้เข้าถึงกิจกรรมนี้ได้ เช่นการดำน้ำประเภทต่าง ๆ ประการที่สอง เรือจากบริษัททัวร์เยอะมาก พออยู่ในทะเลก็ขาดการควบคุมที่ดีพอ

เชื่อหรือไม่ว่า สาเหตุการตายอีกสาเหตุหนึ่งของเจ้าดูกองและฉลามวาฬ รวมทั้งสัตว์ทะเลที่ชอบขึ้นมาที่น้ำตื้นก็คือ “ถูกเรือชน” นี่แหละ น่าสลดมากนะ

DCIM100GOPRO
นักท่องเที่ยว ขี่เต่าทะเล / ภาพจาก Pinterest

จนพอเคทได้ไปดำน้ำดูแมนต้าเรย์ หรือกระเบนราหูยักษ์ที่มัลดีฟส์ เลยเห็นความพยายามของคนท้องถิ่นที่ช่วยพิทักษ์สัตว์ทะเลเหล่านี้ไว้ให้รอดพ้นจาก “การท่องเที่ยวเชิงการล่า (ภาพ)” ให้ได้มากที่สุด

แล้วมันเวิร์คว่ะ

มันเวิร์คยังไง

1) เขาควบคุมตั้งแต่ระดับเรือ

เรือที่จะเข้าเขตของกระเบนราหูได้จะมีแค่เรือลำใหญ่ของ Dive master เท่านั้น ซึ่งเท่าที่สังเกตจะมีแค่ 3 ลำ ส่วนเรือทัวร์ เรือเถื่อน อะไรก็ตามห้ามเข้าเขตนั้นเด็ดขาด (หากเราไปกับเรือของทางที่พัก เราต้องว่ายน้ำไปเปลี่ยนเรือกันกลางทะเลด้วยนะ)

2) เจ้าหน้าที่ที่มาดูแลนักท่องเที่ยว เป็นระดับ Dive master ไม่ใช่แค่ไกด์ หรือคนเรือ

นักท่องเที่ยวที่ดำน้ำต้องทำตามคำสั่งของ Dive Master และฟังบรี๊ฟก่อนลงทะเลอย่างเคร่งครัด โดยทาง Dive Master จะบรี๊ฟว่า ห้ามจับหรือแตะต้องตัวแมนต้า แม้มันจะว่ายเข้ามาเล่นกับเรา (ด้วยความอยากรู้อยากเห็นของมัน) และบอกวิธีที่ถูกต้องเมื่อเจอแมนต้าให้เราได้ทราบ คือ ต้องลอยตัวอยู่เหนือผิวน้ำนิ่ง ๆ ยกตีนกบขึ้นเป็นแนวราบ และห้ามฟรีไดฟ์ เพราะเกรงว่าจะไปตัดหน้าขวางทางแมนต้า และฟินของฟรีไดฟ์อาจบาดเจ้าแมนต้าได้ รวมทั้งห้ามสคูบ้าด้วย

หากอยากเป็น The Observer มากกว่า The Hunter ต้องทำอย่างไร

  1. เริ่มที่ตัวเราเองก่อน

  2. เลือกใช้หรือสนับสนุน ทัวร์ หรือผู้ให้บริการที่มีมาตรการในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างจริงจัง

พวกทัวร์ดำน้ำ ก็ตามที่ได้กล่าวมาแล้วที่มัลดีฟส์ ส่วนพวกทัวร์เทรคกิ้ง ปีนเขา ที่ยึดเอาหัวใจของ ‘eco-tourism’ ‘green trail’ มาใช้อย่างจริงจัง ที่เคทรู้จักเช่น India Hikes ซึ่งจะมีการออกกฏควบคุมลูกทีมเทรคให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่อยู่ที่เบสแคมป์ ไม่ว่าจะเป็นการห้ามใช้วัสดุย่อยสลายเองไม่ได้ (non-biodegradable) ทิชชู่เปียก หรือขวดน้ำพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง (หรือสามารถเอาติดตัวไปได้แต่ต้องทิ้งลงกระสอบที่ทาง India Hikes จัดแจงไว้ให้เท่านั้น) ห้ามทิ้งในหลุมดินที่ใช้สำหรับขับถ่าย หรือการให้ทีมเทรคทุกคนติดกระเป๋าผ้าไว้ที่เอวซึ่งเป็นกระเป๋าที่ทาง India Hikes มีให้เพื่อคอยเก็บขยะรอบภูเขาที่เราเดินผ่าน หรือไว้ใส่ขยะชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่เกิดจากตัวเราเอง เช่นพวกเปลือกช็อคโกแลต ซอง energy bar เปลือกลูกอม หรือซองยา เป็นต้น

GOPR0154_1067x800-63_logo
ถุงผ้าสีเขียว แขวนไว้ที่เอวของทุกคน

ทำไมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์จึงสำคัญ? เพราะมันเป็นระบบที่ช่วยแบ่งแยก ‘การท่องเที่ยว’ ออกจาก ‘การล่า’ (hunting)

เพราะหากเมื่อไหร่ สถานที่ ๆ เราไป…กิจกรรมที่เราทำ..ทำให้เรารู้สึกว่านี่มันเหมือน ‘การล่า’ มากกว่าแล้วเว้ยยย (แม้จะไม่ได้เอาชีวิตของสัตว์เหล่านั้นโดยตรงก็ตาม) ให้เราก้าวออกมา.. ‘ตั้งคำถาม’ กับทัวร์นั้น ๆ หรือกับตัวเราเองว่าเรากำลังล่าอยู่ทางอ้อมหรือเปล่า

และเริ่มต้น ‘ลงมือทำ’ อะไรบางอย่าง

เช่น การตักเตือน ห้ามปราม นักท่องเที่ยวที่กำลังไล่ล่าหาภาพเด็ดโดยที่ตั้งใจจะรบกวนสัตว์เหล่านั้น และคอยเป็นหูเป็นตาให้เจ้าหน้าที่ เป็นต้น

Cover photo: Seadrops photography

Published by kate_wandermore

สาวผู้​หลง​รัก​การ​ผจญภัย​ ไต่เขา​ เข้า​ป่า​ เข้าหาผู้คน​พื้น​เมือง​ และ​ธรรมชาติ​ เคท​รัก​การ​อ่านและการเดินทางสำรวจ​ หลาย​ครั้ง​จึง​หยิบ​จับ​ข้อมูล​ต่าง ​ๆ มา​เล่า​ต่อ​ยอด​จาก​การ​เดินทาง​ เพื่อ​หวัง​สร้าง​แรงบันดาลใจ​แก่​เพื่อน​นัก​เดินทาง​ด้วย​กัน​ และ​หวัง​แสวงหา​ประสบการณ์​และเรียนรู้​จาก​การ​เดินทาง​แต่​ละ​ครั้ง​ให้​มาก​ขึ้น เคท​ชอบ​ลุย​เดี่ยว​ เพราะ​เธอ​ชอบ​ความ​คล่องตัว​เวลา​ตัดสินใจ​จะ​ทำ​อะไร​บาง​อย่าง​ และ​เธอ​คิดว่า​การ​เดินทาง​คน​เดียว​จะ​ช่วยเอื้อ​ให้​คน​ท้องถิ่น​กล้า​เข้า​หา​เธอ​มาก​ขึ้น​กว่า​เดิม​ รวมทั้ง​​เปิดโอกาส​ให้​เจอ​มิตรภาพ​ใหม่​ ๆ​ ที่​อาจ​ไม่​คาด​คิด​มา​ก่อน แม้ต้องโอบรับอันตรายที่รออยู่ข้างหน้า เธอ​มีหัวใจเป็นนักสำรวจ และฝัน​จะ​ได้​สำรวจโลกให้มากขึ้นกว่าเดิม ทั้งทะเลทราย ขั้วโลก ปีนภูเขาน้ำแข็ง หรือ free diving ในสถานที่ที่งดงามราวกับเทพนิยาย แม้มีอันตรายรออยู่ก็ตาม.

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: