จริงๆ แล้วคำว่า ไต่เขา (Trekking/Hiking) และปีนเขา (Summitting/Climbling) แตกต่างกัน การเข้าใจความแตกต่างระหว่างสองคำนี้ ช่วยให้เราเลือกเตรียมอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง ไม่พกอะไรไปจนหนักกระเป๋า จนกลายไปเป็นภาระเวลาออกเดินทางค่ะ
ไต่เขา (Trekking/Hiking) คือ การเดินเท้า โดยเฉพาะการเดินบนพื้นที่แถบภูเขา
ปีนเขา (Summitting/Climbling) คือ การปีนขึ้นภูเขา เพื่อขึ้นไปยังยอดของภูเขาลูกนั้น
ดังนั้น หากมีคนพูดว่า ไปไต่เขา Everest Base Camp กับ ไปปีนยอด Everest จึงเป็นทริปที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
การไปไต่เขา Everest Base Camp คือการเดินเขาผ่านจุดต่างๆ เพื่อให้ถึงที่หมายยังแคมป์ที่ตั้งอยู่ ณ ตีนเขาของเอเวอร์เรสต์
ส่วนคนที่ไปปีนยอด Everest คือคนที่ไปพิชิตยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกลูกนี้ ซึ่งจะพบทั้งความเป็น-ความตาย ความเสี่ยง และใช้ระยะเวลายาวนานประมาณ 10-12 สัปดาห์ เพื่อฝึกและเตรียมร่างกายให้คุ้นชินกับความสูง เหมือนฝึกทหาร อย่างไงอย่างงั้น
[booking_product_helper shortname=”search box -nepal”]
และแน่นอนว่าราคาก็แตกต่างกัน
การไปไต่เขา Everest Base Camp ราคาโดยประมาณอยู่ที่ 500 ดอลล่าร์เป็นต้นไป ต่อคน (16,500 บาท)
ส่วนการปีนยอด Everest ราคาโดยประมาณอยู่ที่ 70,000-120,000 ดอลล่าร์ ต่อคน (2,310,000-3,960,000 บาท)
ทีนี้พอทราบข้อแตกต่างระหว่าง การไต่เขากับการปีนเขาแล้ว เรามาดูเรื่องการเตรียมอุปกรณ์กันเล้ยย!
อุปกรณ์พื้นฐานที่ควรเตรียมสำหรับการไต่เขา
- รองเท้าเทรคกิ้ง แบบน้ำหนักเบา 1 คู่/ รองเท้าเทรคกิ้งที่ใส่ลุยฝนได้ 1 คู่/ รองเท้าแตะ 1 คู่
รองเท้าเทรคกิ้งควรลงทุนซื้อดีๆ ไปเลยน้า เพราะรองเท้าที่ดี เป็นเพื่อนยามยากได้จริงๆ ช่วยให้เราถุงจุดหมายได้โดยไม่ต้องวิ่งหาร้านซ่อมรองเท้า จนเสียแผนการเดินทาง
- ถุงเท้า (ถุงเท้ายาวสัก 3 คู่/ สั้น 2 คู่)
- เสื้อแจ็คเก็ต กันหนาว กันฝน กันลม แบบน้ำหนักเบา สำหรับเทรคกิ้ง 1 ตัว เสื้อ heat tech 1 ตัว และกางเกงลองจอน สำหรับกันหนาว 1 ตัว
- เสื้อยืดและกางเกงสำหรับเทรคกิ้ง แบบน้ำหนักเบา กันเปื้อนได้ แห้งไว สำหรับเทรคกิ้ง 2-3 ตัว
- ถุงมือ 1 คู่ สำหรับกันหนาว อุณหภูมิขึ้นอยู่กับที่ที่จะไป หากไปแถบเนปาล หรือลาดักห์ฤดูหนาว ให้หาซื้อแบบอุณหภูมิติดลบ 10-30 องศาไปเลยจ้า
- ไม้เทรคกิ้ง 1 คู่
- ทิชชู่เปียก ไว้ใช้สำหรับทำธุระหนักเบา และเช็ดในยามที่ไม่ได้อาบน้ำ
- แว่นกันแดดกันลม สำคัญมาก* เพราะบนภูเขาแดดจัดและลมแรง
- ไฟฉายแบบคาดศีรษะ ไว้ใช้ได้ทั้งยามเทรคกิ้งตอนกลางคืน และยามเข้าห้องน้ำ > <
- Day Pack หรือกระเป๋าเป้ใบเล็ก ไว้ใส่เฉพาะของที่สำคัญเพื่อเดินเทรค ส่วนกระเป๋าใบใหญ่มักจะให้ลูกหาบหามให้
- ผ้าขนหนู ผืนบาง แบบแห้งเร็ว
ส่วนข้าวของอื่นๆ ที่เป็นตัวช่วย และแนะนำให้ไม่ลืมที่จะพกไป ได้แก่
- เชือก เอาไว้เป็นตัวช่วยเรื่องเบ็ดเตล็ด เช่น ใช้ผูกรองเท้าหัวเปิดชั่วคราว ก่อนจะเจอร้านซ่อมรองเท้า
- สก็อตเทป
- สเปรย์ฉีด กันยุง กันทาก
- แป้งโยคี ใช้โรยถุงเท้า
- ถุงพลาสติกใบใหญ่ พับแบนๆ แอบไว้ใส่เสื้อผ้าที่ใช้แล้ว หรืออื่นๆ ตามแต่ใช้สอย
- เสื้อกันฝน แบบเต็มตัว
- ครีมกันแดด
- ยาสามัญประจำบ้านและยาประจำตัว ยาแก้ไข้ ปวดหัว ยาบรรเทาอาการท้องเสีย ยา Diamox บรรเทาอาการแพ้ความสูง ฯลฯ พลาสเตอร์ยาแบบสะดวกที่จะลุยต่อแม้เกิดบาดแผล
- มีดพับเอนกประสงค์
ยิ่งเส้นทางที่ไปเทรค ยิ่งชันมาก ยิ่งต้องใช้ไม้เทรคกิ้งช่วยพยุง แต่หากไม่ชันมาก ก็ไม่ต้องเอาไปให้หนักกระเป๋าน้าาา ที่สำคัญเป้ Day Pack ถ้าเป็นแบบมีตัวล็อคไว้สำหรับแพ็คไม้เทรคกิ้ง จะช่วยให้เราสะพายไม้เทรคกิ้งไปได้โดยไม่กินพื้นที่กระเป๋าด้านใน
*ไม้เทรคกิ้งควรเลือกที่คุณภาพดีๆ เคทซื้อแบบที่คุณภาพจีนแดงมา กลายเป็นว่า ไม้เท้าทั้งสองอันไปเสียเอาตอนไปเทรคภูเขาไฟคาวาห์อีเจี้ยนค่ะ
อุปกรณ์พื้นฐานที่ควรเตรียมสำหรับการปีนเขา
- อุปกรณ์สำหรับเทรคกิ้งข้างต้นทั้งหมด
- คาราบิเนอร์ หรือห่วงเกี่ยวนิรภัย ให้เลือกที่แข็งแรงและใช้รับน้ำหนักตัวบุคคลได้อย่างน้อย 1 คน
- เชือกและอุปกรณ์การปีน การโรยตัว รองเท้าเดินบนหิมะ ขวานแซะน้ำแข็ง ฯลฯ ส่วนใหญ่บริษัททัวร์จะจัดเตรียมไว้ให้แล้วค่ะ
คาราบิเนอร์/Karabiner
ภาพ Cr. Greg Racozy