“Life is an Adventure.”
ชีวิต คือการผจญภัย สิ่งที่น่าตื่นเต้นคือ เราไม่มีทางล่วงรู้ได้เลยว่า แผนชีวิตที่เราวางไว้ จะตรงตามแผน
หรือจะล้มไม่เป็นท่า…
หากมีใครติดตามเคทมาตั้งแต่เริ่มเขียนบล็อก อาจรู้ว่าเคทเริ่มออกเดินทางคนเดียวมาเป็น 10 ปีแล้ว ทริปแรกก็ไปอังกฤษเมื่อปี 2011 ในยุคที่ยังไม่มี Google Map เดินถือแผนที่กระดาษ ใช้ทักษะการเดิน ‘งม’ หาทางในมหานครลอนดอน พาตัวเองไปเที่ยวนอกเมืองที่นอริชบ้าง อะไรบ้าง พร้อมพกไกด์บุ้คติดตัว (เดี๋ยวนี้สบายขึ้นมาก แค่เสิร์ชหาอะไรก็เจอพร้อมรีวิว พกมือถือเครื่องเดียวเอาอยู่) ตอนนั้นจำได้ว่า หลงทางทีนึงก็ตกใจ รู้สึก panic ไปหมด

ตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา ถ้าเป็นรุ่นน้อง ก็มักจะถามเคทว่า “พี่เคททำงานอะไร” “ทำไมได้ไปเที่ยวต่างประเทศบ่อยจัง” “อยากไปแบบพี่เคทบ้าง adventure ดี”
แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่ วัย 50+ เขาก็จะมองเราด้วยสายตาเป็นห่วง กลัวเราจะเจออันตรายบ้าง กลัวว่าเราเอาแต่เที่ยว เอาแต่ออกเดินทางจนลืมนึกถึงอนาคตบ้าง “เป็น explorer ไปเรื่อยๆ แล้วชีวิตมันจะจบลงที่ตรงไหน” “อนาคตจะเป็นยังไง”
แม้ไม่ต้องเอ่ยปาก…แต่เราก็สัมผัสรับรู้ ถึงความกังวล ปนห่วงใยของผู้ใหญ่ได้เป็นอย่างดี
ตอนนี้อายุก็เข้าเลขสามกลางๆ แล้ว (Next station คือวัยเลขสี่ที่กำลังโบกมือทักเราให้เห็นอยู่ไม่ไกล) เลยอยากจะมาแชร์ว่า จริงๆ แล้วเราสามารถใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ได้ โดยที่ไม่ต้องทิ้งเรื่องการวางแผนอนาคตไปหรอกนะ

การใช้ชีวิตเต็มที่ในแบบของเรา สามารถอยู่บนพื้นฐานการรับผิดชอบต่ออนาคตของตัวเอง และคนที่อยู่ข้างหลังได้พร้อมๆ กัน ^^ ด้วยหัวใจหลักที่ทำตามได้ง่ายๆ ใน 2 ข้อนี้
1. วางแผนอนาคตด้วยประกันชีวิตบ้างหรือยัง?
ตอนเคทอายุในวัยยี่สิบบวก ยังไม่ค่อยคิดถึงเรื่องนี้สักเท่าไหร่ เพราะความเป็นวัยรุ่นเลยรู้สึกว่ามันยังไกลตัวมาก
แต่ความคิดนี้ก็ค่อย ๆ เปลี่ยนไปเมื่อได้ออกเดินทาง…
เคยดูหนังเรื่อง Me Before You (2016) ไหมคะ ที่นางเอกคือนางเอกคนเดียวกับเรื่อง Game of Thrones มีหน้าที่ดูแลพระเอกหนุ่มที่ทุพพลภาพ
ตอนดูเรื่องนี้ปุ๊บ ก็มองเห็นชีวิตของตัวเองเหมือนพระเอกในเรื่องเลย…!
ชอบใช้ชีวิตโลดโผน ไลฟ์สไตล์แบบ Work Hard, Play Hard ออกท่องโลกไปทำในสิ่งที่ใจอยากทำ ดูเทพมาก ดูเก่งไปซะทุกอย่าง ดูเป็นคนน่าหลงใหลจริงๆ
แต่ชีวิตจริงคงไม่โชคดีเหมือนพระเอกในหนังที่มีคนคอยดูแล คอยซัพพอร์ต นี่ก็คิดว่า หากวันนึงเราล้มป่วยขึ้นมา คงต้องมากังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล ต้องเอาเงินเก็บมารักษาตัว แถมยังขาดรายได้ด้วย เลยเป็นที่มาของการทำประกันชีวิต ซึ่งเคทมองว่าจำเป็นมากๆ ไม่ว่าเราจะมีไลฟ์สไตล์แบบไหนก็ตาม อนาคตต้องวางแผนไว้ จะได้ใช้ชีวิตในไลฟ์สไตล์ที่อยากเป็นได้โดยไม่มีสะดุดค่ะ ^_^

ข้อดีของการทำประกันชีวิต คือ
1) เป็นการประกันความเสี่ยง ที่จะสูญเสียเงินก้อนในอนาคต เช่น หากเราเป็นอะไรไป เจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุ ก็ยังมีเงินประกันเป็นเงินรักษา ผ่อนหนักให้เป็นเบา จะได้ไม่ต้องรบกวนเงินเก็บ
2) ทำเพื่อคนที่อยู่ข้างหลัง หรือครอบครัว เพื่อไม่ให้ต้องรบกวนเงินของคนในครอบครัว เพื่อไม่ให้เป็นภาระ รวมทั้ง เพื่อให้ครอบครัวมีเงินก้อนหากเราเป็นอะไรไป
3) ฝึกวินัยและความรับผิดชอบในการแบ่งสรรปันส่วนเงิน เพื่อกันเงินส่วนหนึ่งไว้ในการทำประกันชีวิต รวมทั้งสร้างวินัยในการออม
4) มีเงินก้อนไว้ใช้ยามเกษียณ หากเราไม่ต้องเอาเงินเก็บมาใช้ในการรักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย เราจะได้กันเงินเก็บส่วนนั้นไปใช้ในยามเกษียณได้ค่ะ หรือหากเลือกทำประกันรูปแบบสะสมทรัพย์ และประกันเพื่อการเกษียณ ก็จะช่วยให้เรามีเงินก้อนไว้ใช้ตอนเกษียณได้เหมือนกันนะ

เราหาข้อมูลสักพัก และเจอกับ FWD ประกันชีวิต ซึ่งจุดยืนเขาชัดเจนมาก คือเป็นประกันที่ออกแบบมาเพื่อคนที่ ‘ชอบใช้ชีวิต’ ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็นสายเที่ยว สายกิน สายเช็คอิน ก็ตอบโจทย์ แถมยังมีรูปแบบประกันที่หลากหลายให้เลือก
ที่ผ่านมา FWD ประกันชีวิต ได้รางวัลการันตีคุณภาพระดับเอเชียมาเยอะเหมือนกันค่ะ และเป็นผู้นำด้านดิจิทัลด้วย แถมยังเป็นประกันชีวิตเจ้าแรกที่ยื่นเคลมผ่าน LINE ได้ ที่สำคัญ FWD ประกันชีวิตเน้นการนำเทคโนโลยีมาใช้บริการลูกค้า เรียกได้ว่าเป็นจุดเด่นหลักของ FWD ประกันชีวิตเลยแหละ
จุดเด่นของ FWD ประกันชีวิต
- เป็นประกันชีวิตเจ้าแรกในไทยเลยค่ะ ที่มีขั้นตอนการเคลมที่ง่ายมาก สามารถยื่นเอกสารเคลมผ่าน LINE @FWDThailand หรือเว็บไซต์ FWDLink ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ใช้เวลาไม่กี่นาทีเสร็จ ^^
- มี SMS คอยแจ้งเตือนให้เรารู้ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ เช่น แจ้งสถานะการเคลม แจ้งวันที่ต้องจ่ายเบี้ยเป็นต้น
- ซื้อประกันชีวิตผ่านทางออนไลน์ได้เอง จ่ายเงินออนไลน์ได้หลายรูปแบบ ทำให้ซื้อได้ง่ายมากๆ
- ไม่ต้องพกบัตรอะไร แค่มีบัตรประชาชน ก็หาหมอในโรงพยาบาลเครือข่ายได้โดยไม่ต้องสำรองจ่ายไปก่อน
- FWD Telemedicine บริการปรึกษาแพทย์ทางออนไลน์ และจัดส่งยาให้ถึงบ้านสำหรับคนที่ป่วยและต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือมีโรคประจำตัวหรือผู้ป่วยโรคทั่วไปที่ทำประกันสุขภาพ เอฟดับบลิวดี พรีเชียส แคร์ OPD คุ้มครบ จบหายห่วง และ คุ้มรักษาเหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า โดยใช้บริการในโรงพยาบาลคู่สัญญาทั่วประเทศเลย > ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
- FWD SOS Assistant ผู้ช่วยพร้อมดูแลและบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชม. ที่เบอร์ 02-206-5444 (เงื่อนไขการบริการแตกต่างกันไปตามแผนประกัน สอบถามเพิ่มเติม โทร. 1351)
- สิทธิพิเศษอื่นๆ ที่จะทำให้เรารู้สึกเหมือนเป็นลูกค้าคนพิเศษ อาทิ ของขวัญในเดือนเกิด ของรางวัลจากการทำกิจกรรม หรือเปลี่ยนเบี้ยประกันเป็นแต้มสะสมผ่านแอพ FWD MAX application ฯลฯ
- นอกเหนือจากช่องทางติดต่ออื่นๆ ที่แสนจะสะดวกสบายและเข้าถึงง่ายแล้ว จุดเด่นของ FWD ประกันชีวิต คือยังมีบริการ Line Chatbot ที่สามารถสอบถามข้อมูลได้ตลอด 24 ชม. อีกด้วยค่ะ

รูปแบบประกันของ FWD ประกันชีวิต มีอะไรบ้าง?
- สุขภาพ
- คุ้มครองชีวิต
- สะสมทรัพย์
- เกษียณ
- มรดก
- การลงทุน
- ครอบครัว
- โรคร้ายแรง
- โรคมะเร็ง
- อุบัติเหตุ

หนึ่งคนเลยอาจมีหลายกรมธรรม์ได้ค่ะ อย่างเคทเองก็ทำหลายกรมธรรม์ เพื่อให้ครอบคลุมรูปแบบประกันที่ตอบโจทย์สิ่งที่เราห่วงต่างกันออกไป ไม่ว่าตอนนี้เราจะเป็นมนุษย์เงินเดือน ฟรีแลนซ์ หรือเจ้าของกิจการ อยากเชียร์ให้เริ่มวางแผนและดูแลเงินก้อนของตัวเองในอนาคตไว้แต่เนิ่นๆ 😊
จะได้เก็บเงินไว้ ‘ใช้ชีวิต’ ได้อย่างอุ่นใจน้า

2. การแบ่งเงินเก็บ ด้วยระบบ 6 Jars System
อีกทางหนึ่งที่นับเป็นความรับผิดชอบในการวางแผนทางการเงินของคนที่ชอบออกเดินทางบ่อยอย่างเรา เคทได้คำแนะนำจากผู้บริหารท่านหนึ่ง ทำให้ได้รู้จักการแบ่งเงินเก็บ แบบระบบ 6 Jars System หรือการแบ่งเก็บเงินไว้ 6 โหลนั่นเอง
วิธีคือ จากรายรับที่ได้ในแต่ละเดือน ก่อนที่เราจะใช้จ่ายอะไรๆ ให้เราแบ่งเก็บไว้ แยกบัญชีไว้ก่อนเลย
โหล 6 ใบ ก็คือ บัญชี 6 บัญชีที่แตกต่างกัน หรือบางคนอาจจะมีแค่ 4 โหล 5 โหล ก็แล้วแต่จะปรับใช้ได้เลยน้า
ด้านล่างคือ ตัวอย่าง (ทั้งจำนวนโหล และสัดส่วน % สามารถปรับได้ตามแต่ละบุคคลเลยค่า)
โหลใบที่ 1 | 10% กันไว้เป็นเงินสำหรับทำประกันชีวิต หรือกันไว้เป็นเงินลงทุนก็ได้ค่ะ เช่น ลงทุนในการซื้อสลากออมสิน ลงทุนในหุ้นแบบ VI ลงทุนในกองทุนรวม ฯลฯ |
โหลใบที่ 2 | 10% เพื่อให้รางวัลตัวเอง เช่น กิน เที่ยว พักผ่อน ช้อปปิ้ง |
โหลใบที่ 3 | 10% เพื่อการออมระยะยาว เอาไว้ใช้ยามเกษียณ |
โหลใบที่ 4 | 5% เพื่อการเรียนรู้อะไรใหม่ๆ เช่น ซื้อหนังสือ หรือ การ take course ต่างๆ |
โหลใบที่ 5 | 15% เพื่อผ่อนบ้าน คอนโด หรือภาระหนี้สินที่อาจจะมี |
โหลใบที่ 6 | 50% เพื่อใช้จ่ายรายเดือน |
*มีคนแนะนำว่า ในโหล สัก 1 ใบควรมีกันไว้ 10% เพื่อเก็บเป็นเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉินด้วยค่ะ เช่น ตอนตกงาน เป็นต้น
ข้อเสียอย่างเดียวของ 6 jars system เท่าที่เคทลองมาด้วยตัวเอง คือรู้สึกว่าเหมาะกับคนที่มีฐานเงินเดือนสูงขึ้นมาหน่อย เพราะเงินจะถูกซอยย่อยหลายโหลมาก หากยังฐานเงินเดือนยังไม่เยอะ ให้ลองลดจำนวนโหลลง และปรับสัดส่วนการแบ่งเงินให้เข้ากับสภาพคล่องทางการเงินของเราดูนะคะ
กันเงินไว้ก่อนใช้ ยังไงก็มีเก็บค่า 😊