โรคระบาด กับการเดินทาง: วิธีเตรียมตัวและรับวัคซีน ข้อควรระวังเมื่อเดินทางไปประเทศเสี่ยง

หมอ: “ไปซูดานมาเป็นไงบ้าง”

เคท: “เกือบไม่ได้กลับแน่ะหมอ เขายิงกันใกล้สนามบิน กลับไม่ได้ ต้องเลื่อนวันกลับมาหนึ่งวัน”

หมอ: (หัวเราะ) “จะยังไปอีกมั้ย ประเทศลำบากๆ เนี่ย ชอบใช่มั้ย”

เคท: “ไปอีกค่า ฮะๆ”

ความชอบออกเดินทางไปประเทศลำบากๆ แบบที่คุณหมอให้คำนิยามนี่มันแก้ไม่หายจริงๆ นะ ไม่ว่าจะได้ยินข่าวอะไรเกี่ยวกับประเทศนั้นมามากเท่าไหร่ …ก็ยังจะไปให้ได้อยู่ดี

อย่างซูดาน (Sudan) เป็นทริปที่เคทมีแผนไว้ในใจอยู่นาน ประจวบกับข่าวการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ โคโรน่าในตอนนี้ เลยอยากมาแชร์ให้เพื่อนๆ อ่านกันว่า จริงๆ แล้วไม่ใช่แค่จีน แต่ประเทศในแอฟริกา อเมริกาใต้ หรืออีกหลายประเทศที่เราอยากไป อาจจะมีโรคระบาดหรือโรคติดต่อในพื้นที่อยู่ก่อนแล้ว เลยอยากมาแนะนำค่ะว่าต้องเตรียมตัวก่อนออกเดินทางยังไงบ้าง

โรคระบาด, การเดินทาง, โคโรน่า, โคโรนา, ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่, ไข้เหลือง, ฉีดวัคซีนไข้เหลือง, ฉีดวัคซีน, การขอสมุดเล่มเหลือง, สมุดเล่มเหลือง, การท่องเที่ยว, เที่ยวแอฟริกา, เที่ยวอเมริกาใต้, เที่ยวคนเดียว, เวชศาสตร์เขตร้อน
ภาพตอนไปซูดาน ณ โบราณสถานที่ห่างไกลแห่งหนึ่ง เคทสังเกตว่าแมลงวันที่แอฟริกาค่อนข้างเยอะค่ะ หน้าตาก็ไม่เหมือนแมลงวันบ้านเรา และยังมีแมลงบางชนิดที่ไม่รู้จักคลานอยู่ตามพื้นทะเลทราย นึกถึงแมลงในเรื่องเดอะมัมมี่เลย

การเตรียมตัวก่อนออกเดินทาง

  1. รับวัคซีน และสมุดเล่มเหลือง สำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปประเทศในทวีปแอฟริกา และอเมริกาใต้

เนื่องจากซูดาน อยู่ในทวีปแอฟริกา แม้จะไม่ได้มีข้อบังคับเรื่องสมุดเล่มเหลือง แต่ก็ถือเป็นประเทศเสี่ยงเหมือนกันค่ะ ก่อนออกเดินทางเคทเลยไปปรึกษาคุณหมอ แนะนำที่โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหิดล ตรงอนุสาวรีย์ (เลยร.พ.ราชวิถีมาหน่อย) เพราะที่นี่มีคลีนิคเฉพาะทางเลยค่ะ เรียกว่า Thai Travel Clinic สำหรับให้คำปรึกษาและฉีดวัคซีนแก่นักเดินทาง แถมยังออกสมุดเล่มเหลืองให้ด้วย (จากที่โทรสอบถามดู พบว่าบาง ร.พ.มีวัคซีน แต่จะไม่มีการออกสมุดเล่มเหลืองให้ค่ะ)

แนะนำให้ไปวันธรรมดา แต่จริงๆ ที่นี่เปิดถึงวันเสาร์ค่ะ

ให้ทำนัดคุณหมอก่อนในเว็บ แล้วจะมีอีเมลยืนยันนัดมา จากนั้นเราก็ไปที่ร.พ. ขึ้นไปชั้น 2 ที่คลีนิคได้เลย (บอกพยาบาลว่าทำนัดมาแล้วค่ะ)

ดูรายการวัคซีน ราคาและทำนัดได้ที่ลิงค์นี้

พอเข้าไปแล้วคุณหมอก็จะซักถามว่าเราจะไปประเทศไหนบ้าง ไปโซนจังหวัดไหน ไปกี่วัน และต้องคลุกคลีกับคนท้องถิ่นมากไหม จากนั้นคุณหมอจะแนะนำวัคซีนที่ควรฉีดมาให้ค่ะ

แต่นอกจากวัคซีนที่ต้องฉีดเพื่อออกเดินทางแล้วที่นี่ก็มีวัคซีนทั่วไปที่ควรฉีดด้วยนะ เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สี่สายพันธุ์ วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก วัคซีนกันบาดทะยัก วัคซีนกันพิษสุนัขบ้า วัคซีนกันไวรัสตับอักเสบเอ+บี เป็นต้น วันนั้นเคทเลยจัดไปหลายเข็ม (เหอๆ)

หลังจากได้รับวัคซีน โดยเฉพาะวัคซีนไข้เหลือง เขาจะให้นั่งรอที่โรงพยาบาลเพื่อรอดูอาการของเราก่อนค่ะ ในระหว่างนั้นคุณพยาบาลก็จะจัดการเรื่องออกสมุดเล่มเหลืองให้ อ้อ! อย่าลืมพกพาสปอร์ตตัวจริงไปด้วยนะคะ

สมุดเล่มเหลืองหน้าตาก็จะเป็นแบบนี้ค่ะ ความสำคัญเทียบเท่าพาสปอร์ต คือห้ามหาย 555+

โรคระบาด, การเดินทาง, โคโรน่า, โคโรนา, ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่, ไข้เหลือง, ฉีดวัคซีนไข้เหลือง, ฉีดวัคซีน, การขอสมุดเล่มเหลือง, สมุดเล่มเหลือง, การท่องเที่ยว, เที่ยวแอฟริกา, เที่ยวอเมริกาใต้, เที่ยวคนเดียว, เวชศาสตร์เขตร้อน
สมุดเล่มเหลือง ที่ต้องพกไปแอฟริกา และอเมริกาใต้ บางประเทศก็ไม่ได้บังคับค่ะ แต่บางประเทศถึงกับตั้งจุดตรวจขอดูสมุดเล่มเหลืองกันเลย
โรคระบาด, การเดินทาง, โคโรน่า, โคโรนา, ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่, ไข้เหลือง, ฉีดวัคซีนไข้เหลือง, ฉีดวัคซีน, การขอสมุดเล่มเหลือง, สมุดเล่มเหลือง, การท่องเที่ยว, เที่ยวแอฟริกา, เที่ยวอเมริกาใต้, เที่ยวคนเดียว, เวชศาสตร์เขตร้อน
รายชื่อวัคซีนต่างๆ และวันที่วัคซีนหมดอายุ ถ้าเป็นวัคซีนไข้เหลือง ฉีดครั้งเดียว ได้ตลอดชีพค่ะ
  1. หาข่าว ทำความรู้จักประเทศที่เราไปก่อนออกเดินทาง ว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงโรคระบาดหรือไม่

ก่อนหน้านี้ พออยากไปประเทศแปลกๆ ก็หาข้อมูลที่อัพเดทยากเหลือเกิน กว่าจะงมหาก็เจอแต่ข่าวที่ไม่ค่อยอัพเดทเท่าไหร่ แต่โชคดีที่เคทไปเจอเว็บๆ นึง เป็นเว็บที่ได้รับทุนของทางยูเอ็นค่ะให้จัดทำเว็บขึ้นเพื่อเผยแพร่ข่าวเกี่ยวกับ วิกฤตการณ์ ภัยพิบัติ และโรคระบาดต่างๆ ทั่วโลก

https://reliefweb.int/countries

ความมหัศจรรย์ของเว็บนี้คือ เราสามารถจิ้มเลือกที่แผนที่โลกได้เลยค่ะ ว่าเราจะไปประเทศไหน เพื่อดูรายละเอียดข่าวของประเทศนั้น (ย้ำว่าข่าวที่โชว์จะมีแต่ข่าวร้ายๆ ที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของคนท้องถิ่นนะคะ เช่นข่าวภัยพิบัติ พายุ น้ำท่วม โรคติดต่อ ฯลฯ) เพราะฉะนั้นอย่าตกใจหรือ panic เมื่อเข้าเว็บแล้วเจอว่าประเทศที่เราจะไปมีแต่ข่าวแย่ๆ เพราะจริงๆ อาจไม่ได้ส่งผลอะไรในพื้นที่ที่เราจะไปก็ได้

โรคระบาด, การเดินทาง, โคโรน่า, โคโรนา, ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่, ไข้เหลือง, ฉีดวัคซีนไข้เหลือง, ฉีดวัคซีน, การขอสมุดเล่มเหลือง, สมุดเล่มเหลือง, การท่องเที่ยว, เที่ยวแอฟริกา, เที่ยวอเมริกาใต้, เที่ยวคนเดียว, เวชศาสตร์เขตร้อน

ตัวอย่างเช่น อันนี้ใช้เม้าส์จิ้มมาที่ประเทศไทย ข่าวล่าสุดด้านซ้ายคือ โคโรน่าไวรัส ค่ะ ส่วนช่องด้านขวาจะไม่ค่อยอัพเดท เพราะอัพเดทกันเป็นรายปี เราจะเห็นข่าวพายุมังคุดเมื่อปี 2018 ซึ่งพื้นที่ที่กระทบอาจจะไม่ใช่ที่ที่เราจะไปก็ได้

ตอนวางแผนการเดินทางไปซูดาน โมรอคโค ดูไบ บาห์เรน เคทก็นั่งดูข่าวจากเว็บนี้เหมือนกันค่ะ

โรคระบาด, การเดินทาง, โคโรน่า, โคโรนา, ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่, ไข้เหลือง, ฉีดวัคซีนไข้เหลือง, ฉีดวัคซีน, การขอสมุดเล่มเหลือง, สมุดเล่มเหลือง, การท่องเที่ยว, เที่ยวแอฟริกา, เที่ยวอเมริกาใต้, เที่ยวคนเดียว, เวชศาสตร์เขตร้อน

ข้อควรระวัง เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อต่าง ๆ ในระหว่างออกเดินทาง

  1. ไม่คลุกคลี จับต้อง สัตว์ป่า จงปล่อยให้เขาได้อยู่กับธรรมชาติที่เขาเป็น:

แม้แต่สัตว์ที่เป็นที่โปรดปรานของนักท่องเที่ยวอย่างน้องอูฐ ก็เป็นต้นกำเนิดของโรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome: MERS) ในตะวันออกกลางมาก่อน (เป็นเชื้อโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 มีการติดเชื้อครั้งแรกที่ซาอุดิอาระเบียเมื่อปี 2555) ดังนั้น สายซาฟารีก็พยายามดูเขาอยู่ห่างๆ นะคะ

ในทางกลับกัน การที่เราไปถูกตัวสัตว์ป่า อาจทำให้สัตว์ป่าเหล่านั้นติดเชื้อบางอย่างจากมนุษย์ได้เช่นกัน เราเที่ยวกลับมาบ้านสบายใจ จากดินแดนนั้นไปก็ไม่อาจรู้เลยว่าสัตว์ป่าเหล่านั้นจะล้มป่วยลงเพราะเราหรือไม่

-การท่องเที่ยว-1-logo
ที่ซูดานจะเห็นคนใช้งานสัตว์เลี้ยง จำพวกลาและอูฐอยู่ทั่วไปค่ะ ส่วนสัตว์ป่าอื่นๆ แทบจะไม่เจอเลย
  1. ไม่กินอะไรแปลกๆ ห้ามกินพวกเปิบพิศดาร ของป่า อาหารที่ไม่ปรุงสุกทั้งหลาย (ข้อนี้ไม่ต้องไปเที่ยวไหนไกล อยู่บ้านเราก็ติดเชื้อได้ค่า -_-)
  2. พกยากันยุงติดกระเป๋าไปด้วย เพราะยุงเป็นพาหะนำโรคบางโรค
  3. ให้ทานน้ำจากแหล่งที่สะอาดเสมอ เช่นน้ำขวดที่ขายที่โรงแรม หรือซุปเปอร์มาเก็ต โดยเฉพาะตอนไปแอฟริกา ลองหาข้อมูลดูค่ะว่าน้ำที่ประเทศนั้นไว้วางใจได้มากแค่ไหน เพราะอาจจะไม่สะอาดค่ะ
  4. หากเดินทางไปในที่ที่แออัด และเป็นพื้นที่เสี่ยงของการระบาดโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ให้ใส่หน้ากากอนามัยและหมั่นล้างมืออยู่เสมอ อย่าใช้มือขยี้ตา ถูกหน้า หรือปากเวลาที่มือยังไม่สะอาด พอกลับห้องอย่าลืมเช็ดแอลกอฮอล์บนมือถือและเคสมือถือด้วยล่ะ เพราะเราใช้มือจิ้มมือถือเยอะมากในแต่ละวัน
โรคระบาด, การเดินทาง, โคโรน่า, โคโรนา, ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่, ไข้เหลือง, ฉีดวัคซีนไข้เหลือง, ฉีดวัคซีน, การขอสมุดเล่มเหลือง, สมุดเล่มเหลือง, การท่องเที่ยว, เที่ยวแอฟริกา, เที่ยวอเมริกาใต้, เที่ยวคนเดียว, เวชศาสตร์เขตร้อน
อย่างบางคนชอบไปดู Camel market หรือตลาดสด ที่ซูดานจะค่อนข้างดิบๆ หน่อย คือไม่ค่อยถูกสุขอนามัยเท่าไหร่ อย่าลืมพกหน้ากากอนามัยไปด้วยนะคะ / Photo courtesy of random-institute

Credit: ขอบคุณภาพ Cover จาก ninno-jackjr

ฝากเพื่อนๆ ติดตามเรื่องเล่าจากการเดินทาง+ทริปแบบมันส์ๆ ได้ที่ 🥰🐯
Facebook: https://web.facebook.com/katewandermore
IG : https://www.instagram.com/kate_wandermore/
Twitter: https://twitter.com/kate_wandermore

Published by kate_wandermore

สาวผู้​หลง​รัก​การ​ผจญภัย​ ไต่เขา​ เข้า​ป่า​ เข้าหาผู้คน​พื้น​เมือง​ และ​ธรรมชาติ​ เคท​รัก​การ​อ่านและการเดินทางสำรวจ​ หลาย​ครั้ง​จึง​หยิบ​จับ​ข้อมูล​ต่าง ​ๆ มา​เล่า​ต่อ​ยอด​จาก​การ​เดินทาง​ เพื่อ​หวัง​สร้าง​แรงบันดาลใจ​แก่​เพื่อน​นัก​เดินทาง​ด้วย​กัน​ และ​หวัง​แสวงหา​ประสบการณ์​และเรียนรู้​จาก​การ​เดินทาง​แต่​ละ​ครั้ง​ให้​มาก​ขึ้น เคท​ชอบ​ลุย​เดี่ยว​ เพราะ​เธอ​ชอบ​ความ​คล่องตัว​เวลา​ตัดสินใจ​จะ​ทำ​อะไร​บาง​อย่าง​ และ​เธอ​คิดว่า​การ​เดินทาง​คน​เดียว​จะ​ช่วยเอื้อ​ให้​คน​ท้องถิ่น​กล้า​เข้า​หา​เธอ​มาก​ขึ้น​กว่า​เดิม​ รวมทั้ง​​เปิดโอกาส​ให้​เจอ​มิตรภาพ​ใหม่​ ๆ​ ที่​อาจ​ไม่​คาด​คิด​มา​ก่อน แม้ต้องโอบรับอันตรายที่รออยู่ข้างหน้า เธอ​มีหัวใจเป็นนักสำรวจ และฝัน​จะ​ได้​สำรวจโลกให้มากขึ้นกว่าเดิม ทั้งทะเลทราย ขั้วโลก ปีนภูเขาน้ำแข็ง หรือ free diving ในสถานที่ที่งดงามราวกับเทพนิยาย แม้มีอันตรายรออยู่ก็ตาม.

2 ความเห็นบน “โรคระบาด กับการเดินทาง: วิธีเตรียมตัวและรับวัคซีน ข้อควรระวังเมื่อเดินทางไปประเทศเสี่ยง

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: