เลือกซื้อประกันเดินทางสำหรับขาลุยยังไง (ไม่ให้มีปัญหาเวลาเคลม) | Wander More

สำหรับคนที่ชอบทำกิจกรรมเสี่ยงภัย หรือไปในประเทศเสี่ยง ๆ ต้องทำใจหน่อยว่ามีประกันเดินทางน้อยรายที่จะกล้าคุ้มครองเรา ส่วนบางแห่งก็ใช้คำโฆษณากว้างๆ ว่าเป็นประกันเดินทางที่เหมาะสำหรับขาลุย แต่พออ่านรายละเอียดดูลึกๆ แล้วอาจมีเงื่อนไขเต็มไปหมด บ้างก็ไม่คุ้มครองกิจกรรมที่เราทำซะนี่

แล้วเราจะเลือกเจ้าไหนดี? ต้องสังเกตรายละเอียดส่วนไหนบ้าง? เคทมีมาแนะนำ พร้อมข้อสังเกตเงื่อนไขของ บ.ประกันละเอียดยิบ สำหรับเพื่อนๆ นักเดินทางสายผจญภัยค่า

…….

*กิจกรรมเสี่ยงภัย หมายถึงกิจกรรมเอ้าท์ดอร์ทั้งหลายที่มีความเสี่ยงประสบอุบัติเหตุอยู่ในตัวของมันเอง เช่น สกี บันจี้จัมป์ เทรคกิ้ง ปีนเขา ล่องแก่ง ตั้งแคมป์บนภูเขา ดำน้ำ สโนว์บอร์ด ฯลฯ

**ประเทศที่ประกันเดินทางทั่วไปมักไม่คุ้มครอง เป็นประเทศที่ขาผจญภัยชอบไปกันดี แต่ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยบ้าง เป็นประเทศที่มีพื้นที่สีแดงเยอะ มีสงครามกลางเมืองหรือก่อการร้ายอยู่เป็นประจำ ทำให้เข้าข่ายกลุ่มประเทศเสี่ยง เช่น เกาหลีเหนือ เนปาล ปากีสถาน ฯลฯ

…….

พยายามเลือกประกันเดินทางที่มีรายละเอียดความคุ้มครองครบถ้วน หาอ่านได้ง่ายบนหน้าเว็บ

เคทเคยเจอประกันเดินทางบางเจ้า ไม่มีรายละเอียดหรือโปรชัวร์ที่แสดงความคุ้มครองให้อ่านบนหน้าเว็บ (หรืออาจจะมี! แต่แอบไว้ในลิงค์เล็กๆ ลิงค์ไหนสักแห่ง?) ประเภทนี้ควรจะมองข้ามไปได้เลย เพราะความสำคัญของการเคลมอยู่ตรงรายละเอียดความคุ้มครองนี่ล่ะ ไม่อย่างนั้นหากกดซื้อออนไลน์ไปแล้ว มีปัญหาเรื่องเคลมไม่ได้ภายหลัง จะปวดใจกันเปล่าๆ

นอกจากไม่มีรายละเอียดให้อ่านบนหน้าเว็บแล้ว เคทไปเห็นคำโฆษณาว่าคุ้มครองกีฬาเสี่ยงภัย รวมทั้งดำน้ำ แต่พอ inbox ไปรีเช็คกับแอดมินว่าคุ้มครองกีฬาดำน้ำหรือเปล่า แอดมินกลับตอบว่า ‘ไม่คุ้มครอง’ !!!

เล่นเอามึนตึ๊บเลย -_-

นักผจญภัยหายสาบสูญก็มีหลายเคส ประกันเดินทางบางเจ้าจึงออกแบบมาให้คุ้มครอง ‘การถูกลักพาตัว’

ก่อนหน้านี้เคทอยากไปปากีสถานมาก แพลนไว้แล้วว่าจะไปในปีนี้ แต่ดันเจอข่าวความขัดแย้งระหว่างปากี-อินเดีย แถบที่จะไปซะก่อน เลยต้องพักแผนไว้

ทีนี้ระหว่างศึกษาข้อมูล เลยไปเจอประกันเดินทางเจ้านึงของต่างประเทศที่คุ้มครองการ ‘ลักพาตัว’ เพราะในพื้นที่แถบปากีสถาน หรือพื้นที่ที่มีกลุ่มก่อการร้าย ชาวต่างชาติหรือนักท่องเที่ยวก็ตกเป็นเป้าลักพาตัวได้เหมือนกัน เลยเห็นฝรั่งที่เคยไปปากีสถานเขาแนะนำประกันเจ้านี้ ชื่อ First Allied

first allies

เรียกได้ว่าพี่เขาออกแบบมา ไม่เฉพาะนักเดินทางเท่านั้น แต่ยังออกแบบมาเพื่อคุ้มครองคนที่ต้องเดินทางไปทำงานในพื้นที่เสี่ยงภัยอีกด้วย ไม่ว่าจะไปแถบตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป อเมริกาเหนือ-ใต้ หรือเอเชียก็คุ้มครองหมด

aa-dil-1090673-unsplash

ทีนี้ลองมากรอกเล่นๆ กันเพื่อเช็คราคา โดยเคทเลือกกรอกวันเดินทาง ระยะเวลา 11 วัน พร้อมเลือกประเทศที่จะไปเป็นปากีสถาน ตามภาพ:

first allies_get quote

ระบบก็จะแสดงราคาออกมาทันที ทำให้ทราบว่า ถ้าไม่รวมความคุ้มครองกรณีถูกลักพาตัว ราคาค่าเบี้ยใช้ได้เลย (1,105 THB) ถือว่าไม่แพงสำหรับประกันที่คุ้มครองพื้นที่เสี่ยงภัย

(ตามปกติประกันเดินทางที่คุ้มครองพื้นที่เสี่ยงภัย และกีฬาเสี่ยงภัย เบี้ยจะแพงตามระดับความเสี่ยงที่มากขึ้น)

first allies_plan1

แต่หากอยากได้ครอบคลุมถึงการถูกลักพาตัว (Ransom) ราคาจะแพงลิบ เกือบหมื่นเลยทีเดียว (8,605 THB) อันนี้เข้าใจได้ เพราะลองนึกภาพดูว่า หากคนๆ นึงถูกลักพาตัวจริงๆ บริษัทต้องใช้ความพยายาม กลยุทธ์ และ connection ขั้นสูง ในการที่จะพาคนๆ หนึ่งกลับมาได้อย่างปลอดภัย

first allies_plan2

ลิงค์ของ First Allied: www.firstalliedtravelinsurance.com

คุ้มครองกีฬาและกิจกรรมเสี่ยงภัยจริงๆ เหรอ?

ประกันเดินทางที่วางจุดยืนไว้ชัดเจนว่าเป็นประกันเพื่อขาลุยโดยเฉพาะ คงหนีไม่พ้น World Nomad และเคทก็ซื้อประกันเดินทางของเจ้านี้มามากกว่า 2 ครั้งแล้ว (แต่ยังไม่เคยเคลม)

ลิงค์ไป World Nomad: https://www.worldnomads.com/

World Nomad
World Nomad ราคาจะสูงกว่า First Allied

มาถึงจุดสำคัญ พอเคทได้รีวิวรายละเอียดดูดีๆ วันนี้ก็เซอร์ไพร์สมาก ว่ากิจกรรมเสี่ยงภัยที่เราไปทำส่วนใหญ่ World Nomad ไม่ได้คุ้มครองจ้า!!! T_T

ให้ดูว่า กิจกรรมเสี่ยงภัยที่เราจะไปทำ คุ้มครองหรือไม่ จากภาพด้านล่าง คือ World Nomad ไม่คุ้มครอง ตัวอย่างเช่น ไม่คุ้มครอง…

  • กีฬาแข่งขันใดๆ สกีแบบฟรีสไตล์ สโนว์บอร์ด สกีหรือสโนว์บอร์ดจัมป์ปิ้ง สกีฟลายอิ้ง อะโครเบติค สตั้นท์ ฯลฯ
  • การดำน้ำโดยไม่มีบัดดี้ไปเป็นเพื่อน หรือการดำน้ำที่ความลึกเกิน 50 ม.
  • การปีนเขาเอง (ไม่มีไกด์) ปีนเขาในพื้นที่ห่างไกลผู้คน เข้าถึงยาก ผจญภัยบุกเบิกเส้นทางใหม่ ปีนเขาที่ระดับความสูงเกิน 6,000 ม.เหนือระดับน้ำทะเล หรือกิจกรรมปีนเขา หรือผจญภัยใดๆ ก็ตามที่ทำในเขตแอนตาร์กติกา วงกลมอาร์คติค (ขั้วโลก) หรือกรีนแลนด์
  • แบคแพคขึ้นที่ราบสูงเกิน 4500 หรือเกิน 6000 ม.เหนือระดับน้ำทะเล
  • Rafting ล่องแก่ง คุ้มครองกรณีเป็นระดับอาจารย์ หรือไกด์ที่มีใบรับรองเท่านั้น!
  • โดดบันจี้จั้มป์ คุ้มครองกรณีที่เป็นผู้ฝึกสอนที่มีใบรับรองเท่านั้น
  • ขี่อูฐ / เทรคกิ้งกับคาราวานอูฐ >> ไม่คุ้มครอง
  • ตั้งแคมป์ บนที่ราบสูงเกิน 4500 หรือเกิน 6000 ม.เหนือระดับน้ำทะเล >> ไม่คุ้มครอง
  • Canyoning ลัดเลาะหุบเขา (เหมือนที่เคทไปมา ที่บาเดียน, ฟิลิปปินส์) >> ไม่คุ้มครอง
  • ฯลฯ

exclusion

exclusion_2

exclusion_3

ให้เลือกประกันเดินทางที่ครอบคลุม Medical Evacuation (การเคลื่อนย้ายช่วยเหลือฉุกเฉินทางการแพทย์)

สายเทรคกิ้งในเขต High Altitude น่าจะตระหนักความสำคัญของเรื่องนี้ดี เพราะหากเราเกิดเป็นโรคแพ้ความสูง (Acute Mountain Sickness) ขึ้นมาเฉียบพลันในระหว่างเดินไต่เขา วิธีที่ดีที่สุดคือการพาตัวเองลงไปในระดับความสูงที่ต่ำกว่าให้เร็วที่สุด จึงนิยมใช้เฮลิคอปเตอร์ในการเคลื่อนย้ายฉุกเฉินสำหรับนักไต่เขาที่อาการย่ำแย่

แต่การที่มีเฮลิคอปเตอร์มารับแต่ละครั้ง ค่าเสียหายหลักแสนเลยน้า!!

ใครไม่มีประกันฯ ก็อ่วมไปเลย และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ง่าย คนใกล้ตัวเคทก็มีโดนหามขึ้นฮอมาแล้วจ้า

oleksii-hlembotskyi-389522-unsplash

ประกันเดินทาง, กิจกรรมเสี่ยงภัย
ประกันเดินทาง ของทั้ง World Nomad และ First Allied ครอบคลุม Medical Evacuation อยู่แล้ว

หัวใจคือ รายละเอียดในประกันฯ

ด้านล่างนี้เคทเอามาจาก World Nomad เขามีข้อมูลละเอียดมากเลย มาอ่านกันเฉพาะข้อที่น่าสนใจ เผื่อไว้เป็นจุดสังเกตสำหรับเวลาเลือกซื้อประกันเจ้าอื่นด้วยน้า:

  • การยกเลิกทริป: คุ้มครองเฉพาะที่ความเสียหายเกิดจากเหตุวิสัยที่ทำให้ทริปถูกแคนเซิลเท่านั้น จู่ๆ จะเปลี่ยนใจไม่ออกทริปเองแล้วไปเคลมประกัน ไม่ได้นาจา
  • ประกันเดินทาง ไม่ใช่ประกันรถยนต์ แม้จะคุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุ แต่ก็ไม่เหมือนประกันรถยนต์ตรงที่ประกันเดินทางไม่คุ้มครองความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลที่ 3 กรณีที่เกิดอุบัติเหตุ (ขึ้นอยู่กับประกันฯ แต่ละเจ้า) เช่น ถ้าเราไปต่างประเทศ แล้วเช่ารถขับ รถไปชนคนอื่นเข้า ประกันเดินทางไม่ได้ครอบคลุมถึงค่าความเสียหาย ค่ารักษาพยาบาล ที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่เราไปชน ฯลฯ
  • ถ้าจะเช่ารถ หรือมอเตอร์ไซค์ หรือทำกิจกรรมเสี่ยงภัย ต้องมีใบขับขี่ด้วย และต้องสวมหมวกกันน๊อค
  • ถ้าอาการบาดเจ็บมีต่อเนื่อง แต่ต้องกลับประเทศ แบบนี้ประกันไม่ได้คุ้มครองตอนเรากลับมาไทยนะ บางคนเจ็บป่วยตอนไปปีนเขาต่างประเทศ พอกลับไทยแล้วเข้าร.พ.ต่อ จะเรียกเคลมค่าหมอในร.พ.ไทย จากประกันไม่ได้น้า
  • ถ้าอาการเจ็บป่วยนั้นมีมาก่อนซื้อประกันเดินทาง = เคลมประกันไม่ได้นาจา..
  • *** หากเกิดเหตุสุดวิสัยขึ้น ต้องติดต่อ หรือให้ผู้ใกล้ชิดของเราติดต่อ emergency contact ของประกันทันทีก่อนที่จะตัดสินใจจ่ายเงินค่าเสียหายหรือค่ารักษาใดๆ สิ่งที่ผู้ทำประกันมักไม่ค่อยทำกัน คือไม่ได้โทรหา emergency contact ทำให้มักมีปัญหาในภายหลังเรื่องเคลมไม่ได้ หรือเคลมได้ไม่ครบ
  • ทรัพย์สินส่วนตัวหาย ในสภาพที่ ‘ถูกละเลย’ เช่น เราวางกระเป๋าไว้ในรถ แล้วไม่มีคนเฝ้า >> เคลมไม่ได้ / ยกเว้นเราล็อครถไว้เรียบร้อย และทรัพย์สินนั้นถูกปิดไว้มิดชิด และรถอยู่ในสภาพถูกงัดแงะชัดเจน >> เคลมได้

read before buy

read before buy2

read before buy3

ประกันเดินทางค่อนข้างสำคัญ เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยประกันความเสี่ยงของค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ลองเลือกดูอย่างถี่ถ้วน และอ่านรายละเอียดทุกครั้งก่อนซื้อประกันฯ นะคะ.

Published by kate_wandermore

สาวผู้​หลง​รัก​การ​ผจญภัย​ ไต่เขา​ เข้า​ป่า​ เข้าหาผู้คน​พื้น​เมือง​ และ​ธรรมชาติ​ เคท​รัก​การ​อ่านและการเดินทางสำรวจ​ หลาย​ครั้ง​จึง​หยิบ​จับ​ข้อมูล​ต่าง ​ๆ มา​เล่า​ต่อ​ยอด​จาก​การ​เดินทาง​ เพื่อ​หวัง​สร้าง​แรงบันดาลใจ​แก่​เพื่อน​นัก​เดินทาง​ด้วย​กัน​ และ​หวัง​แสวงหา​ประสบการณ์​และเรียนรู้​จาก​การ​เดินทาง​แต่​ละ​ครั้ง​ให้​มาก​ขึ้น เคท​ชอบ​ลุย​เดี่ยว​ เพราะ​เธอ​ชอบ​ความ​คล่องตัว​เวลา​ตัดสินใจ​จะ​ทำ​อะไร​บาง​อย่าง​ และ​เธอ​คิดว่า​การ​เดินทาง​คน​เดียว​จะ​ช่วยเอื้อ​ให้​คน​ท้องถิ่น​กล้า​เข้า​หา​เธอ​มาก​ขึ้น​กว่า​เดิม​ รวมทั้ง​​เปิดโอกาส​ให้​เจอ​มิตรภาพ​ใหม่​ ๆ​ ที่​อาจ​ไม่​คาด​คิด​มา​ก่อน แม้ต้องโอบรับอันตรายที่รออยู่ข้างหน้า เธอ​มีหัวใจเป็นนักสำรวจ และฝัน​จะ​ได้​สำรวจโลกให้มากขึ้นกว่าเดิม ทั้งทะเลทราย ขั้วโลก ปีนภูเขาน้ำแข็ง หรือ free diving ในสถานที่ที่งดงามราวกับเทพนิยาย แม้มีอันตรายรออยู่ก็ตาม.

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: