ใกล้ฤดูกาลของการไต่เขาหน้าหนาวล้าววว เคทไปเทรคกิ้งหน้าหนาวมาหลายครั้ง แต่ครั้งไหนก็ไม่โหดเท่าประสบการณ์ที่อุตตราขัณฑ์เมื่อปลายปีก่อนที่ต้องนอนกลางพื้นน้ำแข็งอยู่หลายคืน! ใกล้ครบปีพอดี เลยอยากจะมาแชร์วิธีเตรียมตัวสำหรับเพื่อนๆ ที่เล็งทริปเทรคกิ้งภูเขาหิมะ หรือที่กำลังจะไปเมืองหนาวมาฝากกันค่ะ ^^
การเดินไต่ภูเขาหิมะ ในเขต high altitude ไม่ได้เป็นทริปวัดใจที่ต้องเตรียมร่างกายให้ฟิตเพียงอย่างเดียว แต่ต้องใส่ใจอุปกรณ์ที่พกติดตัวไปด้วย โดยเฉพาะความพร้อมของเสื้อผ้าที่สวมใส่ไว้แนบกาย ใครที่ไปบ่อยๆ จะรู้ (ซึ้ง) เลยว่ามันสามารถช่วยบรรเทาความสาหัสสากรรจ์ของสภาพอากาศอันเลวร้ายที่ร่างกายต้องเผชิญ ช่วยเรื่องความคล่องตัว ทำให้ไม่เสียสมาธิกับกิจกรรมกลางแจ้งที่กำลังทำ และเสื้อผ้าอุ่นๆ จะช่วยให้เราหลับเต็มอิ่ม มีเรี่ยวแรงที่จะมาลุยในวันถัดไปได้
และนี่คือ…ของใช้ 5 อย่างที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะพกพาไปเอาตัวรอดในที่ๆ อุณหภูมิติดลบ
1) เสื้อกันหนาว
ต้องไม่ใช่เสื้อกันหนาวแฟชั่นทั่วไป แต่ต้องมีเทคโนโลยีที่สามารถกันหนาวได้จริง ๆ อย่างที่เคทมีอยู่เป็นของ Columbia ซึ่งเก่งเรื่องเทคโนโลยีบนเนื้อผ้า ตัวที่เคทใส่ไปทริปอุตตราขัณฑ์ อินเดีย สีโทนแดงก่ำ (ชั้นนอกสีชมพู) เป็นเทคโนโลยี Omni-Heat กันหนาวได้ที่ติดลบ -32 องศา
ส่วนตอนนี้ Columbia ยังขยันออกคอลเลคชั่นใหม่ เทคโนโลยีอัพเวลขึ้นไปอีก ชื่อเทคโนโลยี ‘Omni-Heat 3D’ ซึ่งช่วยเก็บความอบอุ่นได้ดีที่สุด เพราะเพิ่มใยสังเคราะห์เข้าไปบนจุดขุยเล็กๆ สีเงินบนเนื้อผ้า (เขาเรียกว่ารูปทรง Delta/ เคทเรียกว่าดาวกระจาย) ทำให้เก็บความร้อนในร่างกายได้ดีขึ้น แค่ลองใส่ก็จะรู้สึกอุ่นจนเริ่มร้อน เนื้อผ้ายืดหยุ่นดีด้วยนะ อย่างตัวสีดำที่ใส่อยู่นี้เขาบอกว่าข้างในใส่แค่เบสเลเยอร์ก็พอ ไม่ต้องใส่ฟลีซให้หนาเทอะทะ มีฮู้ดดี้ด้วย เท่ห์มาก
เทคโนโลยี Omni-Heat 3D บนเนื้อผ้า รูปดาวกระจาย! (Delta) มีขุยๆ สีเงินอยู่ เพิ่มความอุ่น + เรียกชื่อแจ็คเก็ตรุ่นนี้ว่า WOMEN 3D HEATZONE 1000 TURBODOWN II JACKET >> ตัวเลข 1000 เป็นค่าที่ให้ความอุ่นสูงสุด เทคโนโลยีที่ดีที่สุดของ Columbia และในตลาด Outdoor ที่เพิ่มชั้นใน หรือ นวม ใน Down jacket (โดยปกติแจ็คเก็ตทั่วไปจะมีเพียงชั้นเดียว แต่ Turbodown Wave นี่เขาจะเพิ่มอีกชั้นแทรกเข้าไปตรงกลาง ทำให้ไม่เสียความอบอุ่นจากรอยตะเข็บของเสื้อ) และที่สำคัญ ตัวขนเป็ดด้านในผ่านกรรมวิธี Waterproof <กันน้ำ>หากมีน้ำเข้าไปจะไม่จับกันเป็นก้อน
ความดีงามมันอยู่ตรงนี้ด้วยฮะ ‘ซิปสองหัว’ มีไว้สลับ สำหรับดึงขึ้นเพื่อเปิดชายเสื้อ ทำไมน่ะเหรอ?! ก็เอาไว้เวลาเข้าห้องน้ำไงล่ะ ยิ่งใครไปเทรคกิ้งแล้วนั่งยอง ๆ ในหลุมดินด้วยนะ จะรู้ว่าซิปเสื้อปกติแอบลำบากนิดนึง ….เก็บทุกดีเทลจริง ๆ
2) รองเท้า
สำหรับนักเดินเขา หรือนักเดินทางที่ชีพจรลงเท้าแล้ว เรื่องรองเท้าควรจะมาเป็นข้อแรกเลยด้วยซ้ำ เพราะเป็น ‘ของที่ควรค่าแก่การลงทุน’ อย่างมาก เคทมีบทเรียนมาว่า ถ้าไปเทรคที่หนาวๆ รองเท้าเทรคกิ้งธรรมดาไม่ช่วยเรื่องกันหนาวเลย แม้จะใส่ถุงเท้าแล้ว 4 ชั้นก็ยังหนาวอยู่ดี (กลับมา ปลายประสาทตรงนิ้วเท้าชาไปนานเลย) เลยอยากแนะนำให้เลือกรองเท้ากันหนาวที่กันน้ำและเทรคกิ้งได้ด้วย
แน่นอนว่าคู่ที่ใส่อยู่สีเขียวมะกอกได้สอยมาแล้วเรียบร้อย (555+) ชื่อรุ่น WOMEN MEADOWS OMNI-HEAT 3D BOOT
- มีเทคโนโลยี Omni-Heat 3D (อย่าลืมสังเกตรูปดาวกระจายในรองเท้าให้ตื่นเต้นเล่น ๆ)
- Omni-Tech กันน้ำ 100% และระบายความชื้นได้ในเวลาเดียวกัน
- Omni-Grip – Advance Traction มีพื้นรองเท้าที่เหมาะกับทุกสภาพพื้นผิว
- Techlite – Cushioning midsole รองรับแรงกระแทกได้ดีเยี่ยม ช่วยให้เท้าไม่เกิดอาการล้าเวลาเดินเทรคนานๆ
- น้ำหนัก : แบบยาว 432 g. แบบสั้น 368 g.
คู่สีขาว และสีดำในภาพ ชอบเหมือนกัน ยืนจับอยู่นาน กันหนาวได้ที่อุณหภูมิติดลบ -32 องศาเลยนาจา
ชื่อรุ่น Minx Slip
สี: ดำ / ขาว / แดง
อุณหภูมิ: – 32 C
น้ำหนักเบา: 368 g.
– OMNI-TECH : กันน้ำและระบายความชื้นในเวลาเดียวกัน
– OMNI-HEAT : จุดเงิน ๆ เล็ก ๆ ที่สะท้อนเก็บกักความอบอุ่นได้ดีเลิศ และระบายความชื้น
– สบายเท้า เพราะพื้นรองเท้าด้านในจะเป็น PU Foot bed หนากว่ารองเท้าปกติ รองรับแรงกระแทก เดินได้นานขึ้น
– OMNI-GRIP : พื้นรองเท้าเหมาะกับทุกสภาพพื้นผิว
3) เบสเลเยอร์
เสื้อและกางเกงชั้นในที่แนบผิวกายของเราสำคัญที่สุดเลย ซึ่ง Base Layer ของ Columbia ก็มีให้เลือก 3 รุ่นด้วยกัน เวลาซื้อก็ลองเลือกดูว่าจะใส่ชุดไหนสำหรับเดินเทรค และใส่ชุดไหนสำหรับนอน เพราะปกติแล้วเราจะใส่ชุดเบสเลเยอร์ที่กันหนาวได้เยอะมาก ๆ ไว้นอน ส่วนเบสเลเยอร์ที่มีคุณสมบัติระบายเหงื่อได้ดี เราจะใส่เดินเทรคได้
เลเวล #1 3D OMNI-HEAT Midweight Baselayer เป็นขั้นสุดของเบสเลเยอร์ในบรรดาสามรุ่น เพราะกันหนาวด้วยเทคโนโลยีใหม่ 3D Omni-heat
– เหมาะสำหรับสภาพอากาศที่แปรปรวน, หนาวจัด, หรือคนที่รู้สึกหนาวง่าย
– สภาพอากาศ: Cold-Blizzard
– ระดับความอุ่น Ultimate Warm
เลเวล #2 Heavyweight OMNI-HEAT Baselayer
– เนื้อผ้ามีความหนาขึ้น ตัวเนื้อผ้าทักทอแน่นขึ้น มีรูระหว่างเนื้อผ้าน้อยลง
– เหมาะสำหรับคนที่กับทำกิจกรรมที่ต้องอยู่บนหิมะเป็นเวลานานในสภาพอากาศหนาว
– สภาพอากาศ : Cold
– ระดับความอุ่น Extra Warm
เลเวล #3 Midweight OMNI-HEAT Baselayer
– เนื้อผ้าเบาสบาย เก็บความอบอุ่นได้ดี
– เหมาะสำหรับนักเดินทางที่เดินทางไปที่อากาศเย็น
– สภาพอากาศ : Mild
– ระดับความอุ่น Warm

4) กางเกงเทรคกิ้งแบบกันหนาว:
อยากสารภาพว่าเคทเคยพลาดซื้อแต่เสื้อไป เพราะคิดว่ากางเกงใส่ขายาวหนาๆ หลายชั้นเอาก็ได้
ปรากฏว่าเอาไม่อยู่จ่ะ ..หนาววววจัด.. เย็นขาจนนอนไม่หลับเลย ยิ่งมาเจอที่ร้าน Columbia มีกางเกงกันหนาวให้เลือกหลายแบบ ยิ่งตอกย้ำความพลาดในอดีต T^T
5) หมวก ถุงมือ ถุงเท้าและผ้าปิดอุ่นคอ
เป็นไอเท็มที่เล็ก ๆ แต่สำคัญ ยิ่งเป็นถุงมือและหมวกนี่ยิ่งสำคัญไปใหญ่ จะกลับมาแบบหวัดกินหรือโดนหิมะกัดหรือเปล่าก็วัดกันที่ตรงนี้ล่ะ ถุงมือแนะนำว่าให้ไปลองสวมดูที่ร้าน เลือกที่มีห้านิ้ว สวมแล้วหยิบจับอะไรได้สบายหน่อย เวลาเดินเทรคจะได้ไม่ต้องถอดบ่อย ต้องกันน้ำและระบายเหงื่อได้ดีด้วย

ใครจะไปเทรคที่ไหน อย่าลืมเช็คดูนะว่ายังขาดไอเท็มกันหนาวไหนบ้าง จะได้เทรคทั้งแบบอุ่นสบายตัวและก็อุ่นใจด้วยนาจา
อ่านเรื่องราวตอนไปทริปอุตตราขัณฑ์ได้ที่นี่: ไต่เขาขึ้นซัมมิท พิชิต Kuari Pass ณ แดนอุตตราขัณฑ์
/เคท Wander More.