เมื่อฉันพบบ้านหลังที่ 2 เพราะการออกเดินทางไปอินเดีย│Wander More

ย้อนกลับไปเมื่อปีก่อน (2559) เป็นปีที่ฉันได้เดินทางมาเยือนลาดักห์เป็นครั้งแรก

เป็นทริปแรกที่เดินทางเป็นสิบวัน

และเป็นทริปแรกที่ได้สัมผัสกับความหฤโหดของพื้นที่ High Altitude ที่สูงเกิน 3,500 ม.เหนือระดับน้ำทะเล

การหาที่พักเพื่อฟื้นตัวหลังเทรคกิ้งจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญ

ฉันเดินเข้ามาบ้านสปองโบด้วยสภาพที่มอมแมม หัวมันและลีบแปร้ หิวโซ สองสามีภรรยาวัยกลางคนสวมแว่น ท่าทางใจดี รีบเดินปรี่เข้ามาจัดแจงที่นั่งในห้องรับแขกและรินน้ำชาให้ อาวังเกลและน้าอังโม่เป็นคุณครูสอนอยู่ที่โรงเรียนในละแวกนั้น ทั้งคู่มีลูกชายหน้าตาน่ารักสองคนอยู่ในวัยประถม

ในห้องรับแขก น้าอังโม่ยืนมองราวกับกลัวว่าฉันจะบุบสลายไปต่อหน้า

“จูเล่! มีห้องพักว่างใช่ไหมคะ ฉันอยากอาบน้ำจัง” เป็นคำทักทายแรกที่ทำเอาทุกคนหัวเราะร่วน

“มีสิ” อาวังเกลตอบพร้อมเดินนำทางไปยังห้องพัก “หนูมาอยู่ที่นี่ ให้รู้สึกว่าเหมือนอยู่บ้านตัวเองนะ”

ฉันกวาดตาไปรอบๆ ห้องพัก ที่นี่กว้างขวาง สะอาดสะอ้าน หอมกลิ่นไม้ เตียงนอนหนานุ่ม ผ้าห่มดูอุ่นสบาย น้าอังโม่รีบเดินไปรองน้ำอุ่นในถังให้อาบ

ผจญภัย เที่ยวคนเดียว อินเดีย เดินทาง เที่ยวอินเดีย เทรคกิ้ง ลาดักห์ ผจญภัย เที่ยวคนเดียว อินเดีย เดินทาง เที่ยวอินเดีย เทรคกิ้ง ลาดักห์

ทุกๆ เย็น น้าอังโม่จะมาเคาะประตูเรียกฉันไปทานมื้อค่ำด้วยกัน อาหารรสมือของครอบครัวนี้อร่อยอย่าบอกใคร การได้ทานมื้อค่ำด้วยกัน พูดคุยกัน ยิ่งทำให้รู้สึกสนิทชิดเชื้อกับครอบครัวนี้มากขึ้น เด็กชายคนพี่ดูฉลาด พูดจาฉะฉาน ส่วนคนน้องดูขี้อายและสุภาพ ฉันสังเกตว่าไม่มีแขกจากห้องอื่นๆ มาทานมื้อค่ำด้วยกันเลย ทั้งๆ ที่ห้องพักเต็มทุกห้อง

“หนูน่ะเหมือนเรา”

“คะ?”

“เหมือนชาวลาดักห์” คุณอาวังเกลในเสื้อโปโลสีขาว เปิดบทสนทนาในวงข้าว คุณอาขยับแว่น แล้วมองมาที่ฉัน

ฉันเป็นคนไทยคนแรกที่มาพักที่นี่ ครอบครัวสปองโบจึงได้รู้ว่า คนไทยหน้าตาคล้ายๆ กับชาวลาดักห์ ต่างกับแขกที่มาพักชาวฝรั่งส่วนใหญ่ที่พวกเขาเคยพบเจอ เราแลกเปลี่ยนเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับบ้านเกิดของตัวเองให้อีกฝ่ายฟัง

DSCF4067_1024_683-1_logo

บ้านสปองโบน่าจะเป็น ‘บ้านในฝัน’ ของใครหลายคน ลานบ้านถูกเนรมิตให้กลายเป็นสวนครัวและแปลงไม้ดอกเมืองหนาว ชูช่อออกผลอยู่เต็มพื้นที่ อาหารที่กินทุกมื้อถูกเด็ดสดๆ จากสวนมาปรุง ที่นี่เป็นบ้านที่มีความสงบและเป็นส่วนตัวสูง ไม่ได้อยู่ในตลาดที่ดูจอแจวุ่นวาย แต่ก็ไม่ได้อยู่ไกลจากตลาดไปเสียทีเดียว วิวด้านซ้ายของบ้านเป็นเชิงเขา ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระราชวังเลห์ วิวด้านหน้าเป็นเทือกเขาหิมะขาวโพลน เห็นยอดเขา Stok Kangkri อันเลื่องชื่ออยู่ไกลๆ

DSCF4035_1024_683_logo-2ผจญภัย เที่ยวคนเดียว อินเดีย เดินทาง เที่ยวอินเดีย เทรคกิ้ง ลาดักห์ DSCF4108_1024_683-4_logo

น้าอังโม่ชอบชวนฉันเดินสำรวจแปลงผัก และเก็บถั่วลันเตาที่กำลังหวานกรอบให้ฉันกินสดๆ ผีเสื้อหลากสีบินอยู่ในแปลงดอกไม้ที่อยู่ไม่ไกลกันอย่างเริงร่า ลมเอื่อยๆ เย็นๆ พัดมาเป็นระลอก แดดในสวนดูแผดจ้าแต่ไม่ร้อนระคายผิว แครอทต้นน้อยถูกน้าอังโม่ดึงขึ้นมาจากดิน นำไปล้างและหั่น แล้วแบ่งให้ฉันกับลูกชายกินกันสองคน

DSCF4063_1024_683_logoDSCF4069_1024_683_logoDSCF4083_1024_683_lgo

ฉันกลายเป็นส่วนหนึ่งของบ้านนี้ ก่อนจากกันเมื่อปีก่อน การได้ทานข้าวในอาหารมื้อสุดท้ายด้วยกันจึงกลายเป็นการร่ำลา

“เราจะทำดาวไว้ตรงชื่อของหนู” อาวังเกลบอก พร้อมกับชูปากกาในมือ ขีดๆ เขียนๆ ไปที่สมุดลงทะเบียนแขกที่เข้าพัก “เราจะได้จำหนูได้” คุณอาพูดต่อ โดยมีคุณน้าพยักหน้าแกมยิ้มอยู่ใกล้ๆ ส่วนเด็กชายแสนซนสองคนนั่งยิ้มกว้างมองอยู่ห่างๆ ฉันนิ่งเงียบ พยักหน้า และตั้งใจฟัง

“เวลามีเทศกาลอะไร อย่างปีใหม่ เราจะส่งการ์ดไปให้ทางอีเมล ส่วนอันนี้…” อาวังเกลหยิบโปสเตอร์ที่แสดงถึงสัตว์สายพันธุ์ต่างๆ ในลาดักห์ ม้วนด้วยยางสีดำ ภาพที่ฉันชอบถามถึงสัตว์ป่าต่างๆ ในลาดักห์แว้บเข้ามาในหัว โดยเฉพาะเสือดาวหิมะ

ฉันมักจะชอบให้พวกเขาเล่าถึงเสือดาวหิมะให้ฟัง

“เราให้หนู เก็บไว้ พอกลับไปประเทศ ให้คลี่ออกมาติดไว้ที่ฝาผนัง”

ฉันกระพริบตาปริบๆ ยื่นมือเล็กๆ รับมาไว้แนบอก

“ติดไว้ที่ฝาผนัง…หนูจะได้คิดถึงเรา”

DSC05580-1_logo

………………………………………………………….

ฉันกลับมาหาครอบครัวสปองโบอีกครั้งในปีนี้ เป็นปีที่ฉันเลือกมาลาดักห์ในฤดูหนาว และเจอหิมะหลงฤดู ฉันกลายเป็นแขกคนเดียวในบ้าน ที่มาพักต่อจากศาสตราจารย์ชาวฝรั่งเศสคนหนึ่ง (เพราะไม่ค่อยมีใครมาเที่ยวลาดักห์ในฤดูหนาวกัน นอกจากมาทำงานวิจัยหรือจุดประสงค์อื่น)

DSC05169_1024_683-1_logoDSC05152_1024_683-4_logo

[booking_product_helper shortname=”ladakh”]

DSC05129_1024_683-4_logo

เมื่อไปเทรคกิ้งไม่ได้ เพราะทุกเส้นทางถูกหิมะปิด ฉันจึงได้มีโอกาสอยู่กับครอบครัวสปองโบมากขึ้น

ทุกๆ เช้าและค่ำเราจะตื่นมานั่งทานอาหารด้วยกันหน้าฮีทเตอร์โบราณในห้องครัว

ตอนเช้าเมื่อทุกคนออกไปโรงเรียน ฉันจะเดินไปส่ง และมีหน้าที่ปิดประตูบ้าน

DSC05119_1024_683-18_logoDSC05120_1024_683-19_logo

อยู่มาคืนหนึ่ง ฉันเริ่มเป็นไข้ด้วยผลพวงจากการขยันสระผมในอุณหภูมิติดลบ เมื่อรู้ว่าฉันเป็นไข้ ทุกคนต่างกรูเข้ามาดูอาการในห้องพัก น้าอังโม่ทำข้าวต้มใส่เนยร้อนๆ มาให้ทานเพราะฉันมีอาหารท้องเสียร่วมด้วย ส่วนฮะซิน เด็กน้อยซึ่งเป็นลูกชายคนโต ถือจานที่มีเทียนปักอยู่เดินเข้ามาตั้งไว้ให้บนหัวเตียงเพราะไฟฟ้าดับ น้าอังโม่แตะหน้าผากที่ร้อนผ่าวๆ ของฉันอย่างกังวล ส่วนอาวังเกลเช็คน้ำอุ่นในห้องน้ำว่าร้อนพอหรือเปล่า

“น้าเอาถุงน้ำร้อนมาให้นอนกอด จะได้อุ่นๆ”  ฉันรับถุงน้ำร้อนมาอังมือทั้งสองข้างที่กำลังชาได้ที่ อากาศหนาวสุดขั้ว ตีกับอุณหภูมิในร่างกายที่ดูเหมือนจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ก่อนออกจากห้อง น้าอังโม่ยกผ้าห่มหนาๆ มาห่มคลุมโปงให้ฉันหลายชั้น จนอาการทุเลาลงในเช้าวันรุ่งขึ้น

 

ทุกวันนี้ฉันยังคงติดต่อครอบครัวสปองโบทางอีเมลอยู่เสมอ การกลับไปลาดักห์ทุกครั้งจึงไม่ได้รู้สึกเหมือนไปเที่ยวอีกต่อไป

แต่เหมือนได้กลับไปเยี่ยมบ้านอีกหลัง ที่มีทุกคนรออยู่พร้อมหน้าพร้อมตา…

DSCF4232_1024_683-pp_logo

ราชัน คนงานในบ้าน เป็นคนถ่ายภาพนี้ให้ คงเพราะตื่นเต้นไปหน่อย มือเลยสั่น ภาพเลยเบลอ ><

 

Published by kate_wandermore

สาวผู้​หลง​รัก​การ​ผจญภัย​ ไต่เขา​ เข้า​ป่า​ เข้าหาผู้คน​พื้น​เมือง​ และ​ธรรมชาติ​ เคท​รัก​การ​อ่านและการเดินทางสำรวจ​ หลาย​ครั้ง​จึง​หยิบ​จับ​ข้อมูล​ต่าง ​ๆ มา​เล่า​ต่อ​ยอด​จาก​การ​เดินทาง​ เพื่อ​หวัง​สร้าง​แรงบันดาลใจ​แก่​เพื่อน​นัก​เดินทาง​ด้วย​กัน​ และ​หวัง​แสวงหา​ประสบการณ์​และเรียนรู้​จาก​การ​เดินทาง​แต่​ละ​ครั้ง​ให้​มาก​ขึ้น เคท​ชอบ​ลุย​เดี่ยว​ เพราะ​เธอ​ชอบ​ความ​คล่องตัว​เวลา​ตัดสินใจ​จะ​ทำ​อะไร​บาง​อย่าง​ และ​เธอ​คิดว่า​การ​เดินทาง​คน​เดียว​จะ​ช่วยเอื้อ​ให้​คน​ท้องถิ่น​กล้า​เข้า​หา​เธอ​มาก​ขึ้น​กว่า​เดิม​ รวมทั้ง​​เปิดโอกาส​ให้​เจอ​มิตรภาพ​ใหม่​ ๆ​ ที่​อาจ​ไม่​คาด​คิด​มา​ก่อน แม้ต้องโอบรับอันตรายที่รออยู่ข้างหน้า เธอ​มีหัวใจเป็นนักสำรวจ และฝัน​จะ​ได้​สำรวจโลกให้มากขึ้นกว่าเดิม ทั้งทะเลทราย ขั้วโลก ปีนภูเขาน้ำแข็ง หรือ free diving ในสถานที่ที่งดงามราวกับเทพนิยาย แม้มีอันตรายรออยู่ก็ตาม.

2 ความเห็นบน “เมื่อฉันพบบ้านหลังที่ 2 เพราะการออกเดินทางไปอินเดีย│Wander More

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: